Wednesday, January 14, 2009

วินโดวส์ ๗ รุ่นปลากัด

 image

วินโดวส์ ๗ (Windows 7) เป็นวินโดวส์รุ่นถัดไปที่คนในอุตสาหกรรมเชื่อว่าเราจะได้ใช้ตัวจริงภายในปีนี้ ตอนนี้ทางไมโครซอฟท์ออกเบต้า ๑ ให้คนทั่วไปสามารถทดลองใช้ได้ คนที่สนใจสามารถรับได้ที่นี่

การติดตั้งก็ง่ายมาก หลังจากที่ได้ไฟล์เบต้า๑ มาแล้ว ก็เบิร์นลงแผ่นดีวีดี จากนั้นก็ปิดเปิดเครื่องใหม่ เพื่อบูทเครื่องจากแผ่นดีวีดี แล้วก็เริ่มทำตามหน้าจอ มีแค่สองสามหน้าจอที่เราต้องกรอก อย่างการเลือกภาษา คีย์บอร์ด หลังจากนั้นก็รอๆไป เครื่องผมใช้เวลาติดตั้งน้อยกว่าครึ่งชั่วโมง หลังจากทุกอย่างเสร็จ เราก็จะเริ่มเห็นหน้าตาใหม่ของวินโดวส์๗ ที่มีรูปปลากัดไทยอย่างโดดเด่นสวยงาม

โดยรวมวินโดวส์เจ็ดนี่เร็วพอๆกัยเอ็กซ์พีเลยใช้แรมก็น้อย เปิดเครื่องเปล่าๆขึ้นมาใช้แรมแค่ประมาณสามร้อยกว่าๆสี่ร้อยหน่อยๆเม็กเอง เล่นอินเตอร์เน็ตด้วยไออีแปด เปิดทุกๆอย่างเหมือนที่ใช้ปกติประมาณ ๔ ถึง ๖ ตัว แต่ละตัวเปิดแทบอีกประมาณสามสี่แท็บ ดูเมมโมรี่ที่ใช้หมดไปแค่ห้าร้อยเม็กเอง ใช้ได้เลยดูเหมือนจะใช้น้อยกว่าเอ็กซ์พีโดยเปิดทุกอย่างเหมือนกันซะอีก ไม่ต้องพูดถึงวิสต้าที่ถ้าใช้ขนาดนี่แรมต้องใช้ไปกิกกว่าๆ

ตอนนี้ยังไม่ได้ลงอะไรเพิ่มนอกเหนือไปจากแฟลชและซิลเวอร์ไลท์ ใช้ต่อเน็ตอ่านเวบ ดูเมล โน่นนี่ หลังจากนี้จะลองลงออฟฟิส เกมส์ ดูว่าจะเป็นไงบ้าง แล้วคงมีโอกาสมาเล่าสู่กันฟังอีกที

Wednesday, December 31, 2008

คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่

ถ้าหากได้เครื่องคอมพิวเตอร์มาใหม่แล้วต้องทำอะไรบ้าง

  1. สิ่งแรกๆเลยก็คือ การตั้งค่า Firewall ก่อนเลย เดี๋ยวนี้ห้ามต่ออินเตอร์เน็ตโดยที่ไม่มีไฟร์วอลล์ เพราะจะอันตรายมาก image
  2. ติดตั้ง Virus Protection ถ้าหากยังไม่มี จะลองใช้แบบฟรีก็มี AVG 8 แบบฟรี พอติดตั้งเสร็จก็ทำการอัพเดท
  3. ทำ Windows Update เพื่อที่จะอัพเดทตัววินโดวส์ การอัพเดทวินโดวส์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ปกติจะมีการอัพเดททุกๆเดือน เราสามารถที่จะตั้งค่าให้เครื่องเราอัพเดทอัตโนมัตได้
  4. ลงซอฟท์แวร์ที่ต้องใช้ทั้ง Adobe Acrobat Reader, Adobe Flash Player, Microsoft SilverLight แล้วก็ซอฟท์แวร์อื่นๆเท่าที่ต้องการใช้

เมื่อทุกอย่างทำเสร็จเราก็จะมีเครื่องคอมพ์ที่พร้อมใช้งานและมีความเสถียรและมีความปลอดภัยจากไวรัสต่างๆด้วย อย่าลืมว่าการอัพเดทซอฟท์แวร์เป็นเรื่องสำคัญและต้องทำสม่ำเสมอทั้งตัววินโดวส์เอง ตัวแอนตี้ไวรัส และซอฟท์แวร์อื่นๆ

Sunday, September 7, 2008

Spam = สแปม

สแปม (Spam) หมายถึง การส่งข้อความอันที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในอีเมล หรือ เวบบอร์ด หรือระบบส่งข้อความทันที (instant messaging) อย่างใน msn messenger

สแปมมักถูกกล่าวถึงในระบบอีเมลเป็นหลัก เพราะเป็นการสร้างความรำคาญและเสียเวลาในการจัดการ (คัดกรองและลบทิ้ง) ถ้างั้นเราในฐานะผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร

ก่อนอื่นก็ต้องรู้ก่อนว่าผู้ส่งสแปมรู้จักอีเมลเราได้มาจากทางไหน
1. จากการที่เราไปเขียนอีเมลเราไว้ตาม เวบตามๆ กลุ่มสแปมเมอร์ไม่ได้ใช้วิธีตามเรามาดูหรอกนะครับ เขาใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพกว่านั้น คือ เขียนโปรแกรมมาอ่านแล้วคัดลอกอีเมลของเราโดยอัตโนมัติ เพราะรูปแบบของอีเมลแอดเดรสนี้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว อย่าง xxx@xxx.xxx ซึ่งโปรแกรมสามารถคัดเฉพาะรูปแบบดังกล่าวแล้วเก็บไว้เป็นที่อยู่สำหรับส่งสแปม

2. จากการที่เราใช้อีเมลเราไปสมัครสมาชิกตามเวบไซต์ต่างๆ มีหลายเวปไซต์ที่เราอาจจะสนใจ แต่ให้เราสมัครสมาชิกเพื่อดาวน์โหลด หรือดึงข้อมูลที่เราสนใจ หรือมีส่วนร่วมในการส่งความคิดเห็น ซึ่งบางเว็บไซต์นั้นอาจมีการจัดการที่ไม่ดีพอหรือเลวร้ายกว่านั้น มีการขายอีเมลแอดดเดรส ซึ่งจะทำให้ชื่ออีเมลเราเข้าไปอยู่ในมือของผู้ที่อยากส่งสแปมให้เราโดยที่เราไม่ต้องการ

3. จากไวรัสที่เข้ามาถึงในเครื่องเราหรือเครื่องของเพื่อนๆ หรือคนที่เราเคยติดต่อ ซึ่งมีบางชนิดจะเข้ามาแล้วอ่านอีเมลแอดเดรสจากสมุดโทรศัพท์ หรือ address book ในเครื่องนั้นๆ แล้วส่งรวบรวมไป หรือ ทำการส่งสแปมจากเครื่องนั้นๆไปให้ทุกๆคนจากสมุดโทรศัพท์ในเครื่องนั้นที่มีอยู่

4. จากการส่งอีเมลต่อๆกันไป โดยใส่ชื่ออีเมลใน To line หรือ CC line ในอีเมล ซึ่งทำให้ อีเมลนั้นมีการกระจายออกไปเรื่อยๆ และอาจจะไปตกอยู่กับสแปมเมอร์จนได้

นอกเหนือจากวิธีที่กล่าวมาแล้วก็คงมีอีกหลากหลายวิธีที่บรรดาสแปมเมอร์ทั้งหลายพยามเก็บรวบรวมสะสมอีเมลแอดเดรสของคนโดยทั่วไป แต่อย่างน้อยเราก็คงจะพอรู้ว่าแหล่งที่มาของอีเมลนั้นมาได้อย่างไร

เมื่อเราพอทราบที่มาแล้วเราก็คงพอจะสามารถลดสภาวะในการเปิดเผยอีเมลเราโดยไม่จำเป็นลง โดยการมีอีเมลแอดเดรสมากว่าหนึ่งอีเมล โดยแต่ละอีเมลนั้นเราจะใช้เพื่อประโยชน์ในเฉพาะด้าน โดยเฉพาะเราควรมีอีเมลเฉพาะสำหรับการสมัครเวบทั่วไป เพื่อเป็นการป้องกันอีเมลที่เราใช้ประจำหลุดออกไปโดยไม่จำเป็น

อีกกรณีหนึ่งก็คือ อย่าเขียนอีเมลทิ้งไว้ในหน้าสาธารณะที่ใครๆก็เห็นได้ อย่างการเขียนความคิดเห็นหรือคอมเมนต์นั้น การใส่อีเมลในช่องอีเมลมักจะไม่แสดงในหน้าที่คนทั่วไปเห็น จะมีแต่เจ้าของบล็อกและเจ้าของพื้นที่หรือ Host ที่เห็น ซึ่งในโฮสต์ทั่วๆไปที่มีชื่อเสียงก็ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าใด แต่อย่าใส่อีเมลแอดเดรสในช่องข้อความเดียวกันกับช่องคอมเมนต์ ซึ่งหลังจากที่เราส่งหรือโพสไปแล้ว อีเมลแอดเดรสก็จะแสดงสู่สาธารณชนทันที

คราวนี้ถ้าหากจำเป็นต้องการบอกอีเมลแอดเดรสในที่สาธารณะเราควรทำอย่างไร เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นแล้วก็ใช้วิธีในการทำให้รูปแบบแตกต่างออกไปจากอีเมลแอดเดรสปกติ แต่ยังทำให้คนอ่านเข้าใจได้ อย่างเช่น อีเมลแอดเดรสจริงคือ someone@somecompany.com เราก็อาจจะเขียนเป็น someone "@" somecompany "." com หรือ someone AT somecompany DOT com หรือเอาแบบไทยก็ได้ someone แอท somecompany ดอท com ทั้งนี้เพื่อให้โปรแกรมที่มาเก็บรวบรวมอีเมลแอดเดรสอ่านแล้วไม่เข้าใจ

ส่วนเรื่องการส่งเมลให้กับกลุ่มคนเพื่อนๆกลุ่มใหญ่ ก็พยามใช้ Bcc line หรือการใช้กรุ็ปซึ่งรายละเอียดตรงนี้มาว่ากันอีกทีในภายหน้า